วิสัยทัศน์

เทศบาลนครนครราชสีมา

เป็นศูนย์กลางการพัฒนา เศรษฐกิจดี

สังคมดี มีความสุข ภายใต้หลักธรรมาภิบาล

         

          วิสัยทัศน์ (Vision)

 เทศบาลนครนครราชสีมา เป็นศูนย์กลางการพัฒนา

เศรษฐกิจดี  สังคมดี  มีความสุข ภายใต้หลักธรรมาภิบาล

          พันธกิจ (Mission)

  1.          1.ยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี
  2.          2.สร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้
  3.          3.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
  4.          4.ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม
  5.          5.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  6.          6.พัฒนาเศรษฐกิจของทุกภาคส่วนให้มีเสถียรภาพ
  7.          7.ส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

          ยุทธศาสตร์

  1.          1.ยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถในการให้บริการอย่างครอบคลุมและทั่วถึง
  2.          2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมน่าอยู่อย่างมีดุลยภาพ
  3.          3.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  4.          4.ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ
  5.  

           เป้าประสงค์

  1.          1.พัฒนาระบบบริหารการจัดการของเทศบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยยึดหลักนิติธรรมคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีแนวทางการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมและบูรณาการ
  2.          2.จัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย รวมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ ให้ครอบคลุมและทั่วถึง
  3.          3.ประชาชนในเขตเทศบาลมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  4.          4.ยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของเด็ก เยาวชน และประชาชนให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  5.          5.บริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียวรวมทั้งการจัดภูมิทัศน์เมือง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
  6.          6.พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มีการขยายตัว ส่งเสริมเศรษฐกิจของทุกภาคส่วน ให้มีเสถียรภาพ โดยใช้ศักยภาพด้านหัตถกรรม อุตสาหกรรม ทรัพยากรท้องถิ่น การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่นเป็นฐานสร้างรายได้ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานทั่วถึง
  7.          7.อนุรักษ์และส่งเสริมทรัพยากร การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักในระดับชาติ และนานาชาติ
  8.  

          ตัวชี้วัด

     ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่มีความเชื่อมั่นต่อการจัดบริการสาธารณะของเทศบาล

     ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้หรือกิจกรรมการเรียนรู้

     ตัวชี้วัด : ร้อยละของครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ จปฐ

     ตัวชี้วัด : ร้อยละของครอบครัวที่อบอุ่น

     ตัวชี้วัด : ร้อยละที่ลดลงของมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมที่เกินค่ามาตรฐาน

     ตัวชี้วัด : ร้อยละของรายได้ต่อครัวเรือนที่สูงขึ้น

     ตัวชี้วัด : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว  

          ค่าเป้าหมาย

  1.          1.ประชาชนร้อยละ 100 มีความเชื่อมั่นในการจัดบริการสาธารณะของเทศบาล
  2.          2.ประชาชนร้อยละ 100 สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้หรือกิจกรรมการเรียนรู้
  3.          3.ร้อยละ 100 ของครัวเรือนผ่านเกณฑ์ จปฐ.
  4.          4.ครัวเรือนร้อยละ 100 มีความอบอุ่นในครอบครัว
  5.          5.มลพิษด้านสิ่งแวดล้อมที่เกินค่ามาตรฐานลดลงร้อยละ 0.4
  6.          6.รายได้ต่อครัวเรือนสูงขึ้นร้อยละ 0.4
  7.          7.ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5
  8.  

          กลยุทธ์

  1.     1.ยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถในการให้บริการอย่างครอบคลุมและทั่วถึง

     แนวทางการพัฒนาหรือกลยุทธ์

    1.1 พัฒนาคุณภาพและนวัตกรรมการให้บริการ

    1.2 สร้างเครือข่ายการพัฒนาที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยการบูรณาการกับทุกภาคส่วน

    1.3 บริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

    1.4 พัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่องให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

    1.5 พัฒนาอาคารสถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลในการให้บริการ

  1.     2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมน่าอยู่อย่างมีดุลยภาพ

      แนวทางการพัฒนาหรือกลยุทธ์ 

    2.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตท้องถิ่น

    2.2 ยกระดับคุณภาพชีวิตและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน

    2.3 ปลูกจิตสำนึกสาธารณะและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม

    2.4 เสริมสร้างรากฐานการเรียนรู้และแบบอย่างความดีงามในสังคม

  1.     3.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

      แนวทางการพัฒนาหรือกลยุทธ์

    3.1 ส่งเสริมการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการเตรียมความพร้อมรับมือต่อสาธารณภัย

    3.2 เร่งรัดปรับปรุงภูมิทัศน์ ระบบนิเวศน์ และเพิ่มพื้นที่สีเขียว

    3.3 พัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยการบูรณาการจากทุกภาคส่วน

    3.4 เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  1.     4.ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ

      แนวทางการพัฒนาหรือกลยุทธ์

    4.1 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของเทศบาล

    4.2 เสริมสร้างการพัฒนารายได้และเศรษฐกิจชุมชน

    4.3 ส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

    4.4 พัฒนาผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมรับการเติบโตของเมือง

          จุดยืนทางยุทธศาสตร์

          ภายใต้การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ว่า “เทศบาลนครนครราชสีมา เป็นศูนย์กลางการพัฒนา เศรษฐกิจดี  สังคมดี  มีความสุข ภายใต้หลักธรรมาภิบาล” ทำให้เทศบาลนครนครราชสีมาได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์เพื่อก้าวไปให้ถึงซึ่งวิสัยทัศน์ดังกล่าว โดยได้ทำการวิเคราะห์ SWOT เพื่อวัดระดับการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ได้ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่งพบว่า เทศบาลนครนครราชสีมามีจุดแข็งที่สำคัญ 3 อันดับแรก คือ การเป็นเทศบาลนครขนาดใหญ่ทำให้มีความพร้อมในการพัฒนา การที่ผู้บริหารเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และการที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการบริการ ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งกับการพัฒนาภายใต้นโยบายการกระจายอำนาจของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการกระจายการจัดบริการสาธารณะมาสู่ท้องถิ่น  ทั้งสามประเด็นล้วนมีความสำคัญและเป็นประเด็นที่เชื่อมโยงกันได้เป็นอย่างดีเมื่อนำมากำหนดเป็นจุดยืนทางยุทธศาตร์คาดว่าจะทำให้บังเกิดผลสำเร็จได้ไม่ยาก 

            นอกจากนี้สิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้คือ จุดอ่อน ที่ต้องนำมาปรับปรุง แม้จุดอ่อนที่พบจะเป็นสัดส่วนที่มากกว่าจุดแข็ง แต่นั่นย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่ทุกฝ่ายต่างมองเห็นร่วมกันอันจะทำให้เทศบาลฯ สามารถปิดช่องโหว่ในการพัฒนาได้อย่างครอบคลุมและเป็นระบบ  จุดอ่อน 3 อันดับแรกได้แก่ สถานที่ในการให้บริการประชาชนไม่เพียงพอต่อความต้องการ การคัดเลือกบุคลากรไม่สอดคล้องกับความรู้ความสามารถของบุคคลในบางครั้ง  การมีประชากรแฝงจำนวนมากทำให้ระบบสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ โดยยังคงมองโอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาพร้อมไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใกล้ชิดกับประชาชน ภาวะทางการเมืองที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม นำมาซึ่งผลกระทบที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ปัจจัยภายนอกต่างๆ เหล่านี้รวมไปถึงการกำหนดนโยบายในระดับภูมิภาค และระดับจังหวัด ที่เทศบาลฯ เองพร้อมที่จะปรับทิศทางการพัฒนาให้สอดคล้องกันให้ประสบผลสำเร็จต่อไป โดยการกำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ ดังนี้

  1.     1.เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
  2.     2.เป็นสังคมที่มีคุณภาพ มีความโดดเด่นทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข สังคม และวัฒนธรรม
  3.     3.เป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความพร้อมรับมือต่อสาธารณภัยต่างๆ
  4.     4.เป็นเมืองที่มีระบบสาธารณูปโภคที่เป็นระบบและเพียงพอ
  5.     5.เป็นศูนย์รวมการเติบโตและกระจายการพัฒนาในด้านต่างๆ ในระดับภูมิภาค
  6.  

          ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม

  1.     1.ยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถในการให้บริการอย่างครอบคลุมและทั่วถึง

       ความเชื่อมโยง

  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงทุกมิติเพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ รองรับ Smart City, Mice City และ ด้านอื่นๆ
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสานต่อแนวทางพระราชดำริ
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 8 ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 9 ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  •  
  1.     2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมน่าอยู่อย่างมีดุลยภาพ

      ความเชื่อมโยง

  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อยกระดับสังคมให้เป็นเมืองน่าอยู่ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงทุกมิติ เพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสานต่อแนวทางพระราชดำริ
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาการศึกษา
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาสังคม
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการพัฒนาสาธารณสุข
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 7 ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา-วัฒนธรรมประเพณี  และกีฬา
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 9 ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  •  
  1.     3.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

      ความเชื่อมโยง

  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ให้มีความสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และยกระดับอุทยานธรณีโคราชสู่อุทยานธรณีโลก
  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงทุกมิติเพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสานต่อแนวทางพระราชดำริ
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 9 ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 10 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 
  •  
  1.     4.ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ

      ความเชื่อมโยง

  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อยกระดับสังคมให้เป็นเมืองน่าอยู่ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ให้มีความสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และยกระดับอุทยานธรณีโคราชสู่อุทยานธรณีโลก
  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงทุกมิติ เพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
  •   ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ รองรับ Smart City, Mice City และ ด้านอื่นๆ
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสานต่อแนวทางพระราชดำริ
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาสังคม
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 7 ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และกีฬา
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 8 ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
  •   ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 10 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  •