วิสัยทัศน์ (Vision)
เทศบาลนครนครราชสีมา เป็นศูนย์กลางการพัฒนา
เศรษฐกิจดี สังคมดี มีความสุข ภายใต้หลักธรรมาภิบาล
พันธกิจ (Mission)
- 1.ยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี
- 2.สร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้
- 3.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
- 4.ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม
- 5.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- 6.พัฒนาเศรษฐกิจของทุกภาคส่วนให้มีเสถียรภาพ
- 7.ส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์
- 1.ยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถในการให้บริการอย่างครอบคลุมและทั่วถึง
- 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมน่าอยู่อย่างมีดุลยภาพ
- 3.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- 4.ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ
-
เป้าประสงค์
- 1.พัฒนาระบบบริหารการจัดการของเทศบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยยึดหลักนิติธรรมคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีแนวทางการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมและบูรณาการ
- 2.จัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย รวมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ ให้ครอบคลุมและทั่วถึง
- 3.ประชาชนในเขตเทศบาลมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- 4.ยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของเด็ก เยาวชน และประชาชนให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
- 5.บริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียวรวมทั้งการจัดภูมิทัศน์เมือง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
- 6.พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มีการขยายตัว ส่งเสริมเศรษฐกิจของทุกภาคส่วน ให้มีเสถียรภาพ โดยใช้ศักยภาพด้านหัตถกรรม อุตสาหกรรม ทรัพยากรท้องถิ่น การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่นเป็นฐานสร้างรายได้ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานทั่วถึง
- 7.อนุรักษ์และส่งเสริมทรัพยากร การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักในระดับชาติ และนานาชาติ
-
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่มีความเชื่อมั่นต่อการจัดบริการสาธารณะของเทศบาล
ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้หรือกิจกรรมการเรียนรู้
ตัวชี้วัด : ร้อยละของครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ จปฐ
ตัวชี้วัด : ร้อยละของครอบครัวที่อบอุ่น
ตัวชี้วัด : ร้อยละที่ลดลงของมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมที่เกินค่ามาตรฐาน
ตัวชี้วัด : ร้อยละของรายได้ต่อครัวเรือนที่สูงขึ้น
ตัวชี้วัด : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
ค่าเป้าหมาย
- 1.ประชาชนร้อยละ 100 มีความเชื่อมั่นในการจัดบริการสาธารณะของเทศบาล
- 2.ประชาชนร้อยละ 100 สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้หรือกิจกรรมการเรียนรู้
- 3.ร้อยละ 100 ของครัวเรือนผ่านเกณฑ์ จปฐ.
- 4.ครัวเรือนร้อยละ 100 มีความอบอุ่นในครอบครัว
- 5.มลพิษด้านสิ่งแวดล้อมที่เกินค่ามาตรฐานลดลงร้อยละ 0.4
- 6.รายได้ต่อครัวเรือนสูงขึ้นร้อยละ 0.4
- 7.ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5
-
กลยุทธ์
- 1.ยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถในการให้บริการอย่างครอบคลุมและทั่วถึง
แนวทางการพัฒนาหรือกลยุทธ์
1.1 พัฒนาคุณภาพและนวัตกรรมการให้บริการ
1.2 สร้างเครือข่ายการพัฒนาที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยการบูรณาการกับทุกภาคส่วน
1.3 บริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
1.4 พัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่องให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
1.5 พัฒนาอาคารสถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลในการให้บริการ
- 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมน่าอยู่อย่างมีดุลยภาพ
แนวทางการพัฒนาหรือกลยุทธ์
2.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตท้องถิ่น
2.2 ยกระดับคุณภาพชีวิตและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน
2.3 ปลูกจิตสำนึกสาธารณะและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม
2.4 เสริมสร้างรากฐานการเรียนรู้และแบบอย่างความดีงามในสังคม
- 3.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
แนวทางการพัฒนาหรือกลยุทธ์
3.1 ส่งเสริมการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการเตรียมความพร้อมรับมือต่อสาธารณภัย
3.2 เร่งรัดปรับปรุงภูมิทัศน์ ระบบนิเวศน์ และเพิ่มพื้นที่สีเขียว
3.3 พัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยการบูรณาการจากทุกภาคส่วน
3.4 เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- 4.ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ
แนวทางการพัฒนาหรือกลยุทธ์
4.1 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของเทศบาล
4.2 เสริมสร้างการพัฒนารายได้และเศรษฐกิจชุมชน
4.3 ส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
4.4 พัฒนาผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมรับการเติบโตของเมือง
จุดยืนทางยุทธศาสตร์
ภายใต้การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ว่า “เทศบาลนครนครราชสีมา เป็นศูนย์กลางการพัฒนา เศรษฐกิจดี สังคมดี มีความสุข ภายใต้หลักธรรมาภิบาล” ทำให้เทศบาลนครนครราชสีมาได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์เพื่อก้าวไปให้ถึงซึ่งวิสัยทัศน์ดังกล่าว โดยได้ทำการวิเคราะห์ SWOT เพื่อวัดระดับการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ได้ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่งพบว่า เทศบาลนครนครราชสีมามีจุดแข็งที่สำคัญ 3 อันดับแรก คือ การเป็นเทศบาลนครขนาดใหญ่ทำให้มีความพร้อมในการพัฒนา การที่ผู้บริหารเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และการที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการบริการ ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งกับการพัฒนาภายใต้นโยบายการกระจายอำนาจของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการกระจายการจัดบริการสาธารณะมาสู่ท้องถิ่น ทั้งสามประเด็นล้วนมีความสำคัญและเป็นประเด็นที่เชื่อมโยงกันได้เป็นอย่างดีเมื่อนำมากำหนดเป็นจุดยืนทางยุทธศาตร์คาดว่าจะทำให้บังเกิดผลสำเร็จได้ไม่ยาก
นอกจากนี้สิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้คือ จุดอ่อน ที่ต้องนำมาปรับปรุง แม้จุดอ่อนที่พบจะเป็นสัดส่วนที่มากกว่าจุดแข็ง แต่นั่นย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่ทุกฝ่ายต่างมองเห็นร่วมกันอันจะทำให้เทศบาลฯ สามารถปิดช่องโหว่ในการพัฒนาได้อย่างครอบคลุมและเป็นระบบ จุดอ่อน 3 อันดับแรกได้แก่ สถานที่ในการให้บริการประชาชนไม่เพียงพอต่อความต้องการ การคัดเลือกบุคลากรไม่สอดคล้องกับความรู้ความสามารถของบุคคลในบางครั้ง การมีประชากรแฝงจำนวนมากทำให้ระบบสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ โดยยังคงมองโอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาพร้อมไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใกล้ชิดกับประชาชน ภาวะทางการเมืองที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม นำมาซึ่งผลกระทบที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ปัจจัยภายนอกต่างๆ เหล่านี้รวมไปถึงการกำหนดนโยบายในระดับภูมิภาค และระดับจังหวัด ที่เทศบาลฯ เองพร้อมที่จะปรับทิศทางการพัฒนาให้สอดคล้องกันให้ประสบผลสำเร็จต่อไป โดยการกำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ ดังนี้
- 1.เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
- 2.เป็นสังคมที่มีคุณภาพ มีความโดดเด่นทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข สังคม และวัฒนธรรม
- 3.เป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความพร้อมรับมือต่อสาธารณภัยต่างๆ
- 4.เป็นเมืองที่มีระบบสาธารณูปโภคที่เป็นระบบและเพียงพอ
- 5.เป็นศูนย์รวมการเติบโตและกระจายการพัฒนาในด้านต่างๆ ในระดับภูมิภาค
-
ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม
- 1.ยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถในการให้บริการอย่างครอบคลุมและทั่วถึง
ความเชื่อมโยง
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงทุกมิติเพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ รองรับ Smart City, Mice City และ ด้านอื่นๆ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสานต่อแนวทางพระราชดำริ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 8 ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 9 ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
-
- 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมน่าอยู่อย่างมีดุลยภาพ
ความเชื่อมโยง
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อยกระดับสังคมให้เป็นเมืองน่าอยู่ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงทุกมิติ เพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสานต่อแนวทางพระราชดำริ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาการศึกษา
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาสังคม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการพัฒนาสาธารณสุข
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 7 ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา-วัฒนธรรมประเพณี และกีฬา
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 9 ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
-
- 3.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ความเชื่อมโยง
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ให้มีความสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และยกระดับอุทยานธรณีโคราชสู่อุทยานธรณีโลก
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงทุกมิติเพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสานต่อแนวทางพระราชดำริ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 9 ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 10 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
-
- 4.ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ความเชื่อมโยง
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อยกระดับสังคมให้เป็นเมืองน่าอยู่ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ให้มีความสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และยกระดับอุทยานธรณีโคราชสู่อุทยานธรณีโลก
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงทุกมิติ เพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ รองรับ Smart City, Mice City และ ด้านอื่นๆ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสานต่อแนวทางพระราชดำริ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาสังคม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 7 ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และกีฬา
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 8 ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
- ยุทธศาสตร์การพัฒนา อปท. : ยุทธศาสตร์ที่ 10 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
-